หน้าเว็บ

18 พฤศจิกายน 2554

วิดีโอคลิปการแข่นขัน วอลเล่ย์บอล




พื้นฐานรูปแบบการเล่นของทีมวอลเลย์บอล



วอลเลย์บอลเป็นกีฬาที่ต้องเล่นเป็นทีมที่ประกอบด้วยผู้เล่นหลายคน ในการสร้างทีมวอลเลย์บอลจึงต้องพิจารณาองค์ประกอบต่าง ๆ ของการเล่นวอลเลย์บอลเพื่อเตรียมความพร้อมให้กับทีม โดยองค์ประกอบในการเล่นที่ควรพิจารณาคือ
1. ตำแหน่งการเล่นของผู้เล่นในทีม
2. ตำแหน่งของผู้เล่นที่ลงสนาม 6 คน
3. รูปแบบการรับลูกเสริฟ
4. รูปแบบการรุก
5. รูปแบบการรองบอล
6. รูปแบบการรับตำแหน่งของผู้เล่นในทีมกระบวนการเริ่มแรกของการสร้างทีมวอลเลย์บอลเลย...

การยืนตำแหน่งหลังจากการเสริฟ                                         
เมื่อทีมเป็นฝ่ายได้สิทธิ์ในการเสริฟ หลังจากที่ผู้เล่นเสริฟบอลไปแล้วผู้เล่นทุกคนจะต้องยืนประจำตำแหน่งของตนเองเพื่อเตรียมทำการป้องกันการรุกของคู่ต่อสู้ โดยทั่วไปรูปแบบของตำแหน่งหลังจากการเสริฟมีดังนี้
รูปแบบที่ 1




รูปแบบที่ 2
การรับลูกเสริฟ
การรับลูกเสริฟเป็นองค์ประกอบสำคัญในการเล่นเป็นทักษะที่มีผลต่อการรุกของทีม หากการรับลูกเสริฟของทีมไม่มีประสิทธิภาพ โอกาสในการรุกทำคะแนนของทีมจะลดน้อยลงทันที
หลักการของการรับลูกเสริฟ – เป้าหมายของการรับลูกเสริฟคือการบังคับลูกบอลให้ลอยไปยังพื้นที่การเซตของผู้เล่นตัวเซตบริเวณหน้าตาข่าย ซึ่งในสถานการณ์แข่งขันผู้เล่นตัวเซตจะอยู่บริเวณส่วนใดหน้าตาข่ายอาจขึ้นอยู่กับแผนการรุก ไม่จำเป็นที่ผู้เล่นตัวเซตจะต้องอยู่ระหว่างตำแหน่ง 2 และ 3 เท่านั้น (ดูภาพประกอบ)

ตำแหน่งการยืนรับลูกเสริฟจะขึ้นอยู่กับความสามารถ ลักษณะการเสริฟของผู้เสริฟว่าเป็นอย่างไร หนัก เบา สั้นหรือยาว (ภาพประกอบ)
ทิศทางการเคลื่อนที่ในการรับลูกเสริฟ – การเคลื่อนที่รับลูกเสริฟ ผู้เล่นแต่ละตำแหน่งจะเคลื่อนที่ในแนวทแยงมุม 45 องศา

รูปแบบการรับลูกเสริฟ
รูปแบบการรับลูกเสริฟมีหลายรูปแบบในการเลือกใช้รูปแบบใดต้องพิจารณาให้เหมาะสมกับความสามารถในการรับของผู้เล่นในทีม ระบบการรุกที่ทีมเลือกใช้
การรับแบบตัวเอ็ม W
การรับแบบตัวเอ็ม M
การรับแบบ Roof
การรุก
การรุกหรือโจมตีในกีฬาวอลเลย์บอลมี 2 วิธีหลักๆ คือ การตบและการหยอด ซึ่งการตบหรือหยอดก็จะมีหลากหลายรูปแบบ การใช้วิธีการตบลักษณะใดขึ้นอยู่กับความสามารถของผู้เล่น ประสบการณ์และคู่ต่อสู้
การตบบอลลักษณะต่าง ๆ
1. การตบบอลที่เซตสูง
2. การตบบอลเร็วหัวเสา








3. การตบบอลเร็วแบบต่างๆ
บอลเร็วหน้า (A หน้า) – กระโดดตบหน้าตัวเซตประมาณ 1 เมตร และกระโดดก่อนตัวเซตจะเซตบอล
บอลเร็วหลัง (
A หลัง) - กระโดดตบหลังตัวเซตประมาณ 1 เมตร และกระโดดก่อนตัวเซตจะเซตบอล
บอลเร็วหน้าห่างตัวเซต (
X หน้า) – กระโดดตบหน้าตัวเซตประมาณ 2-3 เมตร กระโดดพร้อมตัวเซตเซตบอล
บอลเร็วหน้าห่างตัวเซต (
X หลัง)  กระโดดตบหลังตัวเซตประมาณ 2-3 เมตร กระโดดพร้อมตัวเซตเซตบอล
การรับตบ
ระบบการตั้งรับ
ระบบการตั้งรับมีหลายแบบโดยพิจารณาจากความสามารถของผู้เล่น ระบบการสกัดกั้นของทีมจำนวนผู้สกัดกั้นการรุกของคู่ต่อสู้โดยทั่วไปจะมีดังนี้
1. การตั้งรับโดยมีผู้สกัดกั้น 1 คน
2. การตั้งรับโดยมีผู้สกัดกั้น 2 คน
3. การตั้งรับโดยมีผู้สกัดกั้น 3 คน
การตั้งรับโดยมีผู้เล่นสกัดกั้น 2 คน             
การสกัดกั้นโดยใช้ผู้เล่น 2 คน เป็นระบบการสกัดกั้นพื้นฐานที่นิยมใช้กันมากที่สุดในการแข่งขันปัจจุบัน การตั้งรับโดยมีผู้สกัดกั้น 2 คนจากการรุกของคู่ต่อสู้ในลักษณะต่าง ๆ มีรูปแบบดังนี้
การตั้งรับการรุกจากหน้าซ้าย (หัวเสา)
ในการแข่งขันเรามักจะพบการรุกจากหัวเสามากที่สุดด้วยปัจจัยหลายอย่าง จากภาพประกอบรูปแบบ


การตั้งรับการรุกจากหัวเสาผู้เล่นตำแหน่ง 1 (หลังขวา) จะยืนห่างจากเส้นรุกประมาณ 2-3 เมตร ผู้เล่นตำแหน่ง 4 (หน้าซ้าย) จะต้องถอยมาตั้งรับบริเวณเส้นรุก
การตั้งรับการรุกจากหน้าซ้าย (หัวเสา)
ผู้เล่นตำแหน่ง 3 (กลางหน้า) ถอยลงมารอรับลูกหยอด
การตั้งรับการรุกจากหน้าขวา (หัวเสาหลังตัวเซต) และตรงกลาง
                                 
การตั้งรับโดยมีผู้เล่นสกัดกั้น 3 คน             
การสกัดกั้นโดยใช้ผู้เล่น 3 คน มักใช้ในกรณีที่ผู้เล่นตัวตบของคู่ต่อสู้ตบบอลได้รุนแรงรับยาก ระบบนี้จะทำให้เหลือผู้เล่นตั้งรับเพียง 3 คน (ดูภาพประกอบ)
การตั้งรับการรุกจากหน้าซ้าย (หัวเสา)





การตบ

การตบ (Spike) เป็นทักษะที่สร้างความตื่นเต้นเร้าใจในการแข่งขัน เป็นทักษะที่จูงใจให้เด็กๆ อยากเล่นวอลเลย์บอลมากที่สุด สำหรับเนื้อหาในตอนนี้เป็นภาพรวมในด้านต่างๆ เรื่องการตบเพื่อให้ผู้ฝึกสอนหรือนักกีฬาได้นำไปใช้เป็นแนวทางในการฝึกซ้อมต่อไป

ท่าทางสำหรับการกระโดด 
ในการกระโดดให้ได้สูงนั้นต้องใช้พลังและการทำงานที่ประสานกันของกล้ามเนื้อ นอกจากนั้นการจัดตำแหน่งของร่างกายให้ดีก็เป็นสิ่งที่สำคัญเช่นกัน หากผู้เล่นจัดตำแหน่งร่างกายไม่ดี งอตัวมุมของลำตัวมากหรือน้อยเกินไปก็อาจจะทำให้กระโดดได้ไม่สูง (ดูภาพประกอบ)
การบังคับทิศทางการตบ 
การบังคับทิศทางการตบบอลเพื่อให้ลูกบอลพุ่งไปยังทิศทางที่ต้องการนั้น มี 2 วิธี คืออาจใช้วิธีการตบโดยสัมผัสบอล ณ ตำแหน่งต่างๆ ของลูกบอล เช่น ซ้าย กลาง หรือขวา ส่วนอีกวิธีหนึ่งเป็นการบังคับทิศทางการตบด้วยทิศทางการเข้าตบบอล มีวิธีการ 3 แบบดังนี้ 
1. การเคลื่อนที่แนวเส้นตรง
  • การเคลื่อนที่เป็นเส้นตรงในแนวตรง
การเคลื่อนที่เข้าตบบอลในแนวตรงเพื่อให้ทิศทางลูกบอลพุ่งตรงไปข้างหน้า (ดูภาพประกอบ) 
  • การเคลื่อนที่เป็นเส้นตรงในแนวทแยงมุม
การเคลื่อนที่เข้าตบบอลในแนวทแยงมุมเพื่อให้ลูกบอลพุ่งไปตามแนวทแยงของฝั่งคู่ต่อสู้ (ดูภาพประกอบ)
2. เคลื่อนที่แนวเส้นโค้ง

เป็นการเคลื่อนที่ในลักษณะแนวโค้งเพื่อตบบอลทแยงมุม
 
3. เคลื่อนที่แนวตรงแต่เปลี่ยนเท้าขณะกำลังกระโดด 
การเคลื่อนที่เข้าตบบอลในแนวตรงแต่ในจังหวะสุดท้ายก่อนกระโดดจะวางเท้าทแยงมุม เมื่อกระโดดลอยตัวอยู่บนอากาศลำตัวจะทแยงมุมกับตาข่าย (ดูภาพประกอบ)

A วิธีการก้าวเท้าเพื่อกระโดดตบ B วิธีการก้าวเท้าแต่เปลี่ยนทิศทางขณะจะทำการกระโดด
การตบเบาหรือหยอด 
มีหลายครั้งที่เราจะเห็นว่าในการแข่งขันวอลเลย์บอลนั้น วิธีการเคาะบอลหรือหยอด มีประสิทธิภาพในการโจมตีคู่ต่อสู้มากกว่าการตบบอลหนัก ทุกๆ ทีมต้องมีจุดอ่อนที่ผู้เล่นสามารถใช้การหยอดโจมตีได้  ดังนั้นการฝึกวิธีการหยอดก็เป็นเรื่องจำเป็นเพราะสามารถนำไปใช้ในการแข่งขันจริงได้ (ดูภาพประกอบ) 
เทคนิคการตบเมื่อคู่ต่อสู้สกัดกั้นได้ดี 
เมื่อคู่แข่งเป็นผู้เล่นที่มีความสูง มีการสกัดกั้นที่ดี ผู้เล่นตัวตบต้องพยายามเล่นบอลโดยไม่ให้เสียคะแนนจากการสกัดกั้น โดยอาจจะใช้วิธีการตบบอลดังนี้ 
  • การตบบอลให้สัมผัสแนวสกัดกั้นออก หรือที่เรียกกันว่า ตบทัชบอล (ดูภาพประกอบ)
  • การเคาะบอลเบาๆ กระทบแนวสกัดกั้นเพื่อให้บอลกระดอนกลับมาให้เพื่อนร่วมทีมสามารถนำมาเล่นได้อีกครั้ง เรียกว่าเป็นการใช้ประโยชน์จากการสกัดกั้นของคู่ต่อสู้ 
การตบบอลเร็ว (Quick spike)
การตบบอลเร็วเป็นเทคนิคการตบที่อาจทำให้ผู้สกัดกั้นไม่สามารถสกัดกั้นได้ทัน การตบบอลเร็วจะใช้ได้ดีสำหรับทีมที่มีการฝึกซ้อมกันมาเป็นอย่างดี โดยรูปแบบตำแหน่งการตบบอลเร็วพื้นฐานหลักๆ มีอยู่ 4 แบบ
  1. บอล หน้า (Quick A)  บอลเร็วด้านหน้าใกล้ตัวเซต
  2. บอล หน้า (Quick B)  บอลเร็วด้านหน้าห่างตัวเซต
  3. บอล หลัง (Quick C)  บอลเร็วด้านหลังใกล้ตัวเซต
  4. บอล หลัง (Quick D)  บอลเร็วด้านหลังห่างตัวเซต
หมายเหตุ  และ เป็นรหัสที่รู้จักกันในประเทศไทย ส่วนในวงเล็บเป็นรหัสที่เรียกกันสากลทั่วไป


การรับเสริฟ

ขั้นตอนการสอนทักษะการรับเสริฟ

ขั้นตอนที่ 1 รับลูกเสริฟด้านหน้า


จุดสำคัญในการสอน :  ใช้หลักพื้นฐานการส่งบอล เคลื่อนที่ส่งบอล เคลื่อนที่ให้ลูกบอลอยู่หน้าลำตัว ลำตัวย่อต่ำและสายตาจ้องที่ลูกบอล

ขั้นตอนที่ 2 ย่อตัวต่ำรับลูกเสริฟ



จุดสำคัญในการสอน : เคลื่อนที่ย่อตัวใต้ลูกบอล

ขั้นตอนที่ 3 การรับลูกเสริฟด้านข้าง


จุดสำคัญในการสอน :  เคลื่อนที่ไปด้านข้างด้วยวิธีก้าวเท้าเท่านั้นไม่ใช้ไขว้เท้า

16 พฤศจิกายน 2554

การเสิร์ฟ

ขั้นตอนการสอนทักษะการเสริฟ
ขั้นตอนที่ 1 การเสริฟมือล่าง
 
จุดสำคัญในการสอน :  ประยุกต์เทคนิคการส่งลูกมือเดียวมาใช้ เหวี่ยงแขนพร้อมยืดตัวขึ้น แขนไม่แกว่ง
ขั้นตอนที่ 2 การเสริฟมือบน
จุดสำคัญในการสอน :  ลำตัวตรง โยนบอลไม่สูงเกินไป ใช้ข้อมือขณะตีบอล
ขั้นตอนที่ 3 การเหวี่ยงแขนเสริฟมือบนเปลี่ยนทิศทาง
จุดสำคัญในการสอน :  โยนบอลไม่สูงเกินไป เหวี่ยงแขนไปด้านหลังงอศอก เหวี่ยงแขนกลับข้ามหัวไหล่ ใช้ข้อมือตีบอล ขณะตีบอลให้หยุดเหวี่ยงแขน
ขั้นตอนที่ 4 เหวี่ยงแขนเสริฟมือบน
จุดสำคัญในการสอน :  โยนบอลให้สูงกว่าขั้นตอนที่ 3 เหวี่ยงแขนไปด้านหลังแล้วเหวี่ยงแขนกลับโดยยืดแขนและลำตัวตีบอล


 การเล่นวอลเลย์บอล เป็นการเล่นที่ต้องอาศัยการเคลื่อนที่ของร่างกายไปในทิศทางต่างๆ อย่างคล่องแคล่ว รวดเร็ว และแม่นยำ ผู้เล่นจึงควรที่จะฝึกฝนทักษะที่จำเป็นต่างๆ ดังนี้ การเคลื่อนที่เป็นขั้นต้นของการเล่นวอลเลย์บอล, การเล่นลูกมือล่าง, การตั้งลูกมือล่าง, การส่งลูกมือล่าง (เสิร์ฟ)

  






11 พฤศจิกายน 2554

กติกาการแข่งขันวอลเลย์บอล




          กติกาการแข่งขันวอลเลย์บอล เป็นสิ่งสำคัญที่ผู้เล่นทุกคนต้องเรียนรู้ให้เข้าใจอย่างถ่องแท้ ก่อนที่จะเริ่มเล่นเป็นทีมต่อไป การเล่นเป็นทีมหรือขณะฝึกซ้อม ต้องพยายามปฏิบัติตามกฎระเบียบ กติกาที่กำหนด เพื่อให้เกิดความเคยชิน และเข้าใจเกมการเล่นที่ถูกต้อง ผู้เล่นคนใดไม่สามารถ ทำความเข้าใจกติกาการแข่งขันอาจเกิดเป็นข้อเสียเปรียบได้โดยง่าย ฉะนั้นผู้ที่เริ่มเล่นใหม่ต้องคอย ติดตามศึกษากฎกติกาอยู่เสมอ กติกาอาจมีการเปลี่ยนแปลงแก้ไข เพื่อให้เกิดความปลอดภัย กับผู้เล่น หรือเพิ่มความสนุกสนานในเกมการแข่งขัน กติกาการแข่งขันวอลเลย์บอลนานาชาติ จะถูกเปลี่ยนแปลงอยู่เสมอ หลังการแข่งขันกีฬาโอลิมปิกทุก 4 ปี
                                
ลักษณะของการแข่งขัน

วอลเลย์บอลเป็นกีฬาที่เล่นโดยทีมสองทีมบนสนามที่แบ่งแดนด้วยตาข่าย
จุดมุ่งหมายในการแข่งขัน
การส่งลูกข้ามตาข่ายให้ตกลงบนพื้นในแดนของทีมตรงข้าม และป้องกันไม่ให้ทีม
ตรงข้ามส่งลูกข้ามตาข่ายมาตกบนพื้นในแดนของตน แต่ละทีมจะเล่นลูกได้ 3 ครั้งในการส่งลูกบอลไปยังแดนของทีมตรงข้าม
การแข่งขัน
การเล่นจะเริ่มต้นเมื่อทำการเสิร์ฟลูกบอล โดยผู้เสิร์ฟส่งลูกข้ามตาข่ายไปยังทีมตรงข้าม
การเล่นลูกจะดำเนินไปจนกว่าลูกบอลตกลงบนพื้นในเขตสนามหรือนอกเขตสนาม หรือทีมไม่สามารถส่งลูกบอลกลับไปยังทีมตรงข้ามได้อย่างถูกต้องตามกติกา
ทีม
ทีมประกอบด้วยผู้เล่นไม่เกิน 12 คน ผู้เล่นคนหนึ่งของทีมจะต้องเป็นหัวหน้าทีม 
ทำหน้าที่เป็นตัวแทนของทีมในการติดต่อกับผู้ตัดสิน
การได้คะแนน
จะมีการได้คะแนนทุกครั้งเมื่อมีการเล่นลูก ถ้าทีมที่เป็นฝ่ายชนะการเล่นลูกเป็นฝ่ายรับลูกเสิร์ฟจะได้คะแนน พร้อมทั้งได้สิทธิทำการเสิร์ฟ และผู้เล่นต้องหมุนตามเข็มนาฬิกาไป 1 ตำแหน่ง
การชนะในแต่ละเซต
ทีมที่ทำได้ 25 คะแนนก่อน และมีคะแนนนำทีมตรงข้ามอย่างน้อยที่สุด 2 คะแนน 
จะเป็นทีมชนะการแข่งขันในเซตนั้น ถ้าทำคะแนนได้ 24 คะแนนเท่ากัน จะแข่งขันกันต่อไปจนกว่าทีมใดทีมหนึ่งจะทำคะแนนนำอีกทีมหนึ่งอย่างน้อยที่สุด 2 คะแนน (26 : 24, 27 : 25)
การชนะการแข่งขัน
ทีมที่ชนะ 3 เซต เป็นทีมที่ชนะการแข่งขันนัดนั้น ในกรณีที่ได้เซตเท่ากัน 2 : 2 
การแข่งขันเซตตัดสิน (เซตที่ 5) จะแข่งขันกัน 15 คะแนน และต้องมีคะแนนนำอีกทีมหนึ่งอย่างน้อยที่สุด2 คะแนน
การเสี่ยง
ก่อนการแข่งขันผู้ตัดสินจะทำการเสี่ยงเพื่อตัดสินว่า ทีมใดจะเสิร์ฟก่อน หรืออยู่ในแดนใด ในเซตที่ 1 ถ้าต้องแข่งขันในเซตตัดสิน จะต้องทำการเสี่ยงใหม่อีกครั้งหนึ่ง ผู้ชนะการเสี่ยงจะได้สิทธิเลือกเสิร์ฟ หรือรับลูกเสิร์ฟก่อน หรือเลือกแดนใดแดนหนึ่งของสนามก็ได้ ผู้แพ้การเสี่ยงจะได้รับส่วนที่เหลือ

การเปลี่ยนตัวผู้เล่น

ทีมหนึ่งจะเปลี่ยนตัวได้มากที่สุด 6 คนต่อเซต การเปลี่ยนตัวแต่ละครั้งจะเปลี่ยนเพียง 1 คน หรือมากกว่าก็ได้ ผู้เล่นที่เริ่มต้นเล่นในเซตนั้น จะเปลี่ยนตัวได้หนึ่งครั้ง และกลับเข้าไปเล่นได้อีก
หนึ่งครั้งกับคู่ที่เคยเปลี่ยนกัน ส่วนผู้เล่นสำรองจะเปลี่ยนตัวเข้าแทนผู้เล่นที่เริ่มต้นเล่นในเซตนั้นได้เพียงครั้งเดียวในแต่ละเซต และผู้เล่นที่จะเปลี่ยนตัวเข้ามาแทนผู้เล่นสำรองต้องเป็นผู้เล่นคนเดิม
ที่เคยเปลี่ยนตัวกันเท่านั้น
การขอเวลานอก
การขอเวลานอกแต่ละครั้งมีเวลา 30 วินาที ในแต่ละเซตทีมหนึ่งจะขอเวลานอกได้อย่างมาก
ที่สุด 2 ครั้ง สำหรับในเซตปกติจะให้เวลานอกทางเทคนิคเมื่อทีมใดนำไปถึงคะแนนถึงที่ 8
และคะแนนที่ 16 ครั้งละ 60 วินาที ส่วนเซตตัดสินจะไม่มีการให้เวลานอกทางเทคนิค
การหยุดพักระหว่างเซต
การหยุดพักระหว่างเซตพักได้ 3 นาที ระหว่างการหยุดพักจะทำการเปลี่ยนแดน
การเปลี่ยนแดน
เมื่อเสร็จสิ้นการแข่งขันแต่ละเซตทั้งสองทีมจะเปลี่ยนแดน ยกเว้นเซตตัดสินที่ต้องทำการเสี่ยงใหม่ก่อน ในเซตตัดสินทีมที่ทำได้ 8 คะแนนจะทำการเปลี่ยนแดนทันที และตำแหน่งของผู้เล่น
ให้เป็นไปตามเดิม

สนามแข่งขัน




            สนามต้องเป็นรูปสี่เหลี่ยมผืนผ้า ขนาด 18 X 9 เมตร ล้อมรอบด้วยเขตสนาม กว้างอย่างน้อยที่สุด 3.00 เมตร รอบด้าน 
ที่ว่างสำหรับผู้เล่นคือ ที่ว่างเหนือพื้นที่เล่นลูกซึ่งไม่มีสิ่งใดกีดขวางอย่างน้อยที่สุด 7.00 เมตร สำหรับการแข่งขันระดับโลกของสหพันธ์วอลเลย์บอลนานาชาติ (FIVB) และการแข่งขันอย่างเป็นทางการ เขตรอบสนามต้องกว้างอย่างน้อยที่สุด 5.00 เมตร จากเส้นข้าง 8.00 เมตร จากเส้นหลังและที่ว่างสำหรับเล่นลูกต้องสูงจากพื้นขึ้นไปอย่างน้อยที่สุด 12.50 เมตร


ความสูงของตาข่าย
ความสูงของตาข่ายสำหรับทีมชายสูงจากพื้น 2.43 เมตร สำหรับทีมหญิงสูง 2.24 เมตร




ลักษณะในการเล่น

วอลเลย์บอลเป็นกีฬาที่มีลูกอัดด้วยลมเป็นอุปกรณ์ในการเล่น  และเล่นในพื้นที่ซึ่งถูกแบ่งครึ่งด้วยตาข่าย  โดยมีลักษณะการเล่นทั่วๆไปดังนี้
                1.จุดมุ่งหมายการเล่น  วอลเลย์บอลเป็นกีฬาที่ใช้ส่วนต่างๆของร่างกายตั้งแต่ศรีษะจนถึงเท้าเล่นลูกบอล  ซึ่งอาจตี  ตบ  ต่อยให้ลูกบอลไปตกในพื้นที่ของฝ่ายตรงข้ามและในขณะเดียวกันต้องพยายามรักษาพื้นที่ไม่ให้ลูกบอลตกในแดนของตนด้วย
                2.ผู้เล่น  การเล่นครั้งหนึ่งๆ โดยทั่วไปจะมีผู้เล่นฝ่ายละ  6 คน มีผู้เล่นสำรองอยู่นอกสนามอีกฝ่ายลำไม่เกิน 6 คน  ซึ่งจะเปลี่ยนเข้าไปเล่นกันได้ตามกติกาการเปลี่ยนตัวผู้เล่นปัจจุบันมีการแข่งขันวอลเลย์บอลชายหาด และมีการจัดการแข่งขันประเภทต่างๆซึ่งช่วยส่งเสริมให้กีฬาวอลเลย์บอลพัฒนาการเล่นมากยิ่งขึ้น  ดังนั้นผู้เล่นอาจจะมีฝ่ายหนึ่งน้อยกว่า 6 คน ก็ได้
                3.สถานที่ใช้เล่น  สนามที่ใช้เล่นมีขนาด   กว้าง 9 เมตร  ยาว 18 เมตร มีตาข่ายกั้นกลางสนาม  ผู้ชายใช้ตาข่ายสูง 2.43 เมตร ผู้หญิงใช้ตาข่ายสูง 2.24 เมตร  สำหรับความสูงของตาข่ายนี้อาจจะลดลงมาได้อีก   ตามที่ฝ่ายจัดการแข่งขันจะกำหนดตามความเหมาะสม
                4.การเล่น  การเล่นเริ่มด้วยทีมที่ชนะการเสี่ยงอาจจะเลือกเสริฟ์หรือเลือกแดนหรือเลือกรับลูกเสริฟ์อย่างใดอย่างหนึ่ง  การเสริฟ์จะต้องเสริฟ์ภายในเขตเสริฟ์ให้ลูกข้ามตาข่ายไปยังฝ่ายรับ  จากนั้นทั้งสองฝ่ายต้องพยายามโต้ลูกกลับไปมา  โค้ชอาจจะขอเวลานอกหรือขอเปลี่ยนตัวผู้เล่น  การเล่นจะดำเนินต่อไปตามกติกา
                5.การได้คะแนน  ถ้าทีมใดที่ไม่สามารถรับลูกบอลที่ข้ามตาข่ายมาได้ตามกติกาหรือเล่นผิดกติกา  ผลที่ตามมาคือทีมนั้นเป็นฝ่ายแพ้ในการเล่นลูกส่วนทีมตรงข้ามเป็นฝ่ายชนะการเล่นลูกและคะแนน  ซึ่งถ้าทีมตรงข้ามเป็นฝ่ายเสริฟ์ก็จะได้เสริฟ์ต่อไป  แต่ถ้าเป็นฝ่ายรับลูกเสริฟ์จะได้สิทธิทำการเสริฟ์และได้คะแนน  การได้คะแนนจะได้ครั้งละ 1 คะแนน
                6.การแพ้ชนะ  ทีมที่ทำได้ 25 คะแนนก่อนและมีคะแนนนำทีมตรงข้ามอย่างน้อยที่สุด 2 คะแนน จะเป็นทีมที่ชนะการแข่งขันในเซตนั้น  แต่ถ้าทำได้ 25 คะแนนเท่ากันจะแข่งขันกันต่อไปจนกว่าทีมใดทีมหนึ่งทำคะแนนนำอีกทีมหนึ่ง  2 คะแนน  เช่น 26-24 , 27-25  เป็นต้น
                  ในกรณีที่ได้เซตเท่ากัน 2:2 การแข่งขันเซตตัดสิน (เซตที่ 5 ) จะแข่งขันกันเพียง 15 คะแนน และทีมที่ชนะการแข่งขันต้องมีคะแนนนำอีกทีมหนึ่งอย่างน้อยที่สุด 2 คะแนน แต่ถ้าทำได้ 14 คะแนนเท่ากัน จะแข่งขันกันต่อไปจนกว่าทีมใดทีมหนึ่งจะทำคะแนนนำอีกทีมหนึ่ง 2 คะแนน เช่น 16-14 , 17-15 เป็นต้น เมื่อเล่นชนะกัน 2 ใน 3 หรือ 3 ใน 5 เซต (แล้วแต่จะกำหนดกันก่อนการแข่งขันว่าจะแข่งขันกัน 2 ใน 3 หรือ 3 ใน 5 เซต ) ก็ถือว่าเป็นฝ่ายชนะ